การบริการแจ้งซ่อมออนไลน์

798

หลักการและเหตุผล

การแจ้งซ่อมของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เริ่มแรกมีการรับแจ้งจากการบอกต่อหรือแจ้งโดยตรงกับผู้รับผิดชอบ รวมถึงมีแบบฟอร์มการแจ้งซ่อมให้กรอกข้อมูลเพื่อส่ง แต่เนื่องจากผู้รับผิดชอบด้านฝ่ายซ่อมบำรุงของคณะซึ่งมีอยู่จำนวน 2 ท่าน อาจไม่ได้นั่งประจำโต๊ะทำงานตลอด ด้วยมีภาระงานหลักและภาระงานรอง ทำให้ผู้มาแจ้งซ่อมในบางครั้งไม่พบเจ้าหน้าที่ส่งผลต่อการรับบริการไม่ทันท่วงที และปัจจุบันเจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุงได้จัดทำ QR code มาใช้ในการรับแจ้งซ่อม เพื่อให้เกิดช่องทางอีกหนึ่งช่องทางในการแจ้งซ้อม แต่ก็ยังไม่ค่อยมีผู้ใช้บริการเท่าที่ควร

ดังนั้น ผู้รับผิดชอบเล็งเห็นว่านอกจากบุคลากรภายในคณะแล้ว นักศึกษา หรือบุคคลภายนอกที่มาติดต่อที่คณะหากพบเห็นสิ่งใดชำรุดก็สามารถแจ้งบริการซ่อมได้ ซึ่งผู้รับผิดชอบมีความต้องการจัดทำระบบการให้บริการแจ้งซ่อมออนไลน์ที่รองรับการให้บริการในด้านให้ผู้ใช้บริการแจ้งข้อมูลการซ่อมถึงเจ้าหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการแจ้งข้อมูล ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานการณ์ซ่อมได้ อีกทั้งเป็นการลดเอกสารและสามารถจัดเก็บข้อมูลการให้บริการการซ่อม รวมถึงการควบคุมวัสดุที่ใช้ในการซ่อมและสามารถนำเสนอรายงานต่อผู้บริหารได้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อบริหารจัดการองค์กรด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
  2. เพื่อการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

กระบวนงานหรือขั้นตอนการดําเนินงาน

 

กิจกรรม การดำเนินงาน ระยะเวลา
ระบบการใช้บริการแจ้งซ่อม 1. ศึกษาและวางแผนข้อมูลการจัดทระบบให้ตรงกับความต้องการ

2. หารือกับผู้จัดทำระบบถึงความต้องการและรูปแบบการจัดทำระบบและหารือถึงความเป็นไปได้ของการเสนออนุมัติขอใช้รถออนไลน์นำเสนอผู้บริหารพิจารณาอนุมัติการจัดทำ

กุมภาพันธ์ 2563
3. จัดจ้างเขียนระบบ มีนาคม-เมษายน 2563
4. นำระบบมาใช้ เมษายน-มิถุนายน 2563
5. สอบถามการใช้งานกับผู้ใช้ระบบเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น กรกฎาคม 2563
6. สรุปผลการดำเนินงานของการจัดทำระบบครั้งนี้ กรกฎาคม 2563

 

 

การนําไปใช้ประโยชน์

ภารกิจด้านบริหารจัดการกลางได้นำองค์ความรู้เรื่องดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และช่วยให้การบริการมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความต่อเนื่อง

ภารกิจด้านบริหารจัดการกลาง ได้พัฒนาจุดเริ่มต้นของการแจ้งซ่อมออนไลน์ผ่าน official line ส่วนตัว มาเป็นผ่าน official line กลุ่ม และเมื่อมีผู้ขอใช้บริการส่งข้อมูลการแจ้งซ่อมระบบจะมีการแจ้งเตือนผ่านทาง official line กลุ่มชื่อ “BD Services” ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รับผิดชอบที่ให้บริการจำนวน 2 คน และหัวหน้าภารกิจด้านบริหารจัดการกลาง จำนวน 1 คน ที่รับเรื่องและกำกับติดตามงาน ซึ่งทำให้ผู้รับผิดชอบและผู้ดูแลสามารถรับเรื่องและติดตามการแจ้งซ่อมได้รวดเร็วมากกว่าการแจ้งซ่อมเดิม และจากการพัฒนามาระบบแจ้งซ่อมออนไลน์นี้ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 จากการประกวดโครงการประกวดผลงานการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องตามแนวคิด Kaizen คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ต่อมาปีงบประมาณ 2564 ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ได้รับการคัดเลือกจากคณะให้นำมาต่อยอดเป็นหนึ่งในการจัดทำระบบ Smart KKBS ร่วมกับภารกิจอื่นที่มีความต้องการทำระบบเพื่อใช้ในงานภายใต้โครงการ KKBS Smart Workplace โดยมี ดร.ปิยดา ดาวดึงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาระบบ Smart Workplace คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คำสั่งเลขที่ 253/2563) โดยมีตัวแทนของภารกิจด้านการบริหารจัดการกลาง ภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภารกิจด้านวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบที่ใช้ในการให้บริการเพื่อให้เกิดการบริการภายในที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
โดยมีการทำระบบให้บริการ 5 ระบบ คือ

  1. บริการแจ้งซ่อม
  2. บริการจองห้องเรียน
  3. บริการยานพาหนะ
  4. บริการโสตทัศนูปกรณ์
  5. บริการออกแบบผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ไว้ในจุดเดียว

เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการติดตามรายการ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างระบบบริการ และเป็นแบบอย่างในการพัฒนาการทำงานในระบบอื่นต่อไป โดยสามารถเข้าระบบได้ที่ https://smartkkbs.kku.ac.th/login

บทเรียนที่ได้รับ

  1.  การให้บริการแจ้งซ่อมเป็นเรื่องง่ายแจ้งได้ทุกที่แค่ส่งผ่านลิงค์หรือสแกน Qr code ก็ได้รับบริการ
  2. การซ่อมที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นเรื่องเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถให้การตรวจเช็คและบริการได้ทันทีโดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติก่อน เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการแก้ไข แต่หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่สามารถแก้ไขได้จึงส่งเสนอและจัดทำเอกสารสู่ขั้นตอนของผ่านพัสดุ
  3. สามารถเก็บข้อมูลในการให้บริการแบบสารสนเทศได้

ปัจจัยความสําเร็จ

1. ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ในภารกิจ
2. ระบบแจ้งซ่อมง่ายต่อการใช้งาน จึงส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุน

ผู้รับผิดชอบ

นายประเสริฐ สิมเสน
นายสุรศักดิ์ เวียงแก้ว
นางสาวปนัดดา ตันสุวรรณรัตน์

ความสอดคล้อง

  • การบริหารจัดการคณะด้วยเทคโนโลยี

รูปแบบขององค์ความรู้

Best Practice (แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับในวงกว้างโดยมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรสายวิชาการของคณะฯ
  • บุคลากรสายสนับสนุนของคณะฯ
  • บุคลากรมหาวิยาลัยขอนแก่น
  • ผู้เรียน
  • ผู้ปกครอง
  • ศิษย์เก่า

ระยะเวลาดำเนินงานและสถานที่

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่นระหว่างกุมภาพันธ์-กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ให้คะแนน KM นี้

คะแนนโดยเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนที่โหวต : 3

No votes so far! Be the first to rate this post.

ป้ายกำกับ